You are currently viewing การวิจัยเชื้อ Covid19

การวิจัยเชื้อ Covid19

“…คณะวิจัยของฮ่องกงพยากรณ์ว่าผู้ติดเชื้อและป่วยในเมืองจีนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะถึงขีดสูงสุดในช่วงปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคมนี้…แต่คณะวิจัยของจีน ประเมินว่าสถานการณ์ของโรคน่าจะทรงตัวและดีขึ้นภายใน 7 – 10 วันข้างหน้านี้…”

ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรอง นรม. และ รมว.สธ.ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาโรคระบบการ หายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความคืบหน้าในการ วิจัยเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ( Novel Coronavirus 2019 – nCoV ) ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของ สถาบันวิจัยในเอเซีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป แต่อุบัติการณ์ของเชื้อไวรัสตัวนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 เดือน ที่ผ่านมา การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นเพียงก้าวแรกและต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะสรุปองค์ความรู้ได้ในระดับหนึ่ง โดยส่วนตัวตนให้เครดิตกับความรู้ความสามารถของแพทย์และคณะวิจัยฯ ในมหาวิทยาลัยโตเกียว, มหาวิทยาลัย ปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีคุณภาพเป็นอันดับที่ 1 – 3 ของเอเซีย และอยู่ในอันดับที่ 1 – 50 ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงและมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่เป็นผู้ค้นพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Beta Coronavirus SARS – CoV เป็นครั้งแรกในโลกในห้วงเวลาเกือบจะพร้อม ๆ กัน เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546

ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล กล่าวว่าล่าสุดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Centers of Disease Control and Prevention ( CDC ) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา สามารถผลิตชุดตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ ใหม่ ( Laboratory Test Kit for 2019 – nCoV ) ที่นำไปใช้ตรวจเชื้อในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วไป ได้ง่ายและสะดวกขึ้น แต่ในวันนี้ Test Kit ดังกล่าวยังไม่แพร่หลาย มีการนำไปใช้ประโยชน์เพียงภายในประเทศ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันที่องค์ความรู้เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ยังไม่ตกผลึก จึงไม่มียาและวัคซีนใด ที่สามารถใช้รักษาและป้องกันโรคได้ วิธีต่อสู้กับไวรัสตัวนี้ก็คือจะต้องใช้มาตรการและเครือข่ายในการตัดวงจร ชีวิตของมัน ฉะนั้นรัฐบาลจีนและรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จึงตอกย้ำความสำคัญของยุทธศาสตร์การป้องกันโรคฯ โดยส่วนตัวตนหวังว่ามาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นและมาตรฐานของการสาธารณสุขทั่วโลกที่มีคุณภาพดีขี้นมาก ในยุคศตวรรษที่ 21 น่าจะช่วยสกัดกั้นไม่ให้เชื้อไวรัสตัวนี้แพร่ระบาดรุนแรงไปสู่ขั้นวิกฤติในภูมิภาคต่าง ๆ ได้

เกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดฯ ล่าสุดในประเทศจีน เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศ.นพ. Gabriel M. Leung และคณะวิจัยฯ ของ Li Ka Shing Faculty of Medicine, University of Hong Kong รายงานว่าเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ( Novel Coronavirus 2019 – nCoV ) ได้แพร่ระบาดเข้าไปในเมืองมหานครขนาดใหญ่ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น และฉงชิ่งแล้วตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ศ.นพ. Leung ประเมินว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และน่าจะถึงจุดสูงสุดในช่วงปลาย เดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งอาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 1.5 แสนคนขึ้นไป แต่ถ้ามาตรการ ของรัฐบาลจีนสัมฤทธิ์ผล สามารถลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ 25% จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1.5 – 3.3 คน ต่อผู้ป่วย 1 คน ก็จะเป็นผลดีต่อการควบคุมโรค และถ้าการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นลดลงไป 50% จากปัจจุบัน ก็จะมีผลให้ระดับ ความรุนแรงของการแพร่ระบาดลดลงในลักษณะของเส้นกราฟรูปทรงระฆังคว่ำ แต่ถ้ามาตรการควบคุมโรค ล้มเหลว การแพร่ระบาดจะพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจรุนแรงไปถึงขั้นวิกฤติ ในประเด็นของสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชากรฮ่องกงนั้น ศ.นพ. Leung และคณะวิจัยฯ ได้แนะนำให้รัฐบาลฮ่องกง ใช้มาตรการควบคุมโรคในระดับเข้มข้น รวมทั้งห้ามคนจีนจากเมือง Wuhan และ Hubei ข้ามแดนเข้าฮ่องกง แต่ยัง ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นปิดด่านห้ามคนจีนแผ่นดินใหญ่ทุกคนเข้า – ออกดินแดนฮ่องกง ซึ่งในอดีต 20 ปีที่ผ่านมาใน สถานการณ์โรค SARS, ไข้หวัดนก, และไข้หวัดหมูฯ รัฐบาลฮ่องกงก็ไม่เคยใช้มาตรการดังกล่าว

ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อธิบายว่าผลการวิจัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยาและโรคระบบการหายใจ ระดับโลกในช่วงก้าวแรกของการศึกษาฯ มักจะมีทัศนะหลากหลาย ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของ ศ.นพ. N.S. Zhong อุรแพทย์และนักระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแพทย์กวางโจว ได้ประเมินสถานการณ์ไว้ว่าผู้ติดเชื้อไวรัส Novel Coronavirus ( 2019 – nCoV ) ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีจำนวนสูงสุดภายใน 7 – 10 วันข้างหน้านี้ จากนั้น จำนวนผู้ติดเชื้อฯ จะลดลงตามลำดับ ศ.นพ. Zhong เชื่อว่ามาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นและเด็ดขาดของรัฐบาล จีนจะช่วยแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดฯ ไม่ให้เข้าไปสู่ภาวะวิกฤติได้ ศ.นพ. Zhong เป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้ค้นพบ เชื้อไวรัส Beta Corona SARS – CoV ระลอกแรกของโลก, เคยเป็นนายกสมาคมอุรแพทย์จีน, เคยเป็นนายกสมาคม แพทย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, และล่าสุดรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นประธาน ที่ปรึกษาการวางยุทธศาสคร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาวะวิกฤติ ( ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล เคยเป็นวิทยากรผู้บรรยายในการประชุมวิชาการเรื่องโรคปอดติดเชื้อฯ ใน Symposium เดียวกับ ศ.นพ. Zhong ที่ Nippon Toshi Center กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531 )

ในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญในประเทศตะวันตก Mike Ryan โฆษกองค์การอนามัยโลก ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าผู้เชี่ยวชาญ WHO หลายคนมีความเห็นว่า ณ ปัจจุบันยังไม่ถึงเวลาที่จะด่วนประเมิน จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคปอดจากไวรัสตัวนี้ Michael Osterholm ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยา มหาวิทยาลัย Minnesota และ Robin Thompson นักสถิติระบาดวิทยา มหาวิทยาลัย Oxford ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าการพยากรณ์ ห้วงเวลาและจำนวนผู้ติดเชื้อฯ มากที่สุดในสาธารณรัฐประชาชนจีนของ ศ.นพ. Lueng แห่ง University of Hong Kong และของ ศ.นพ. Zhong แห่ง Guangzhou Medical University นั้น ยังเชื่อถือไม่ได้ กลุ่มข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ ยังมีข้อบกพร่องหลายประเด็น ซึ่งน่าจะเป็นผลให้การพยากรณ์ดังกล่าวมีโอกาสผิดพลาดสูงมาก

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีรายงานจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ 32 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ต้องอยู่ในโรงพยาบาล 22 ราย และให้กลับบ้านได้แล้ว 10 ราย มีผู้อยู่ในเกณฑ์ต้องเผ้าระวังสะสม 654 ราย คัดกรองจากสนามบิน 49 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 605 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 279 ราย และยังคงต้องอยู่ในโรงพยาบาล 375 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีผู้ป่วย เข้าเกณฑ์ต้องตรวจเชื้อไว้รัสซ้ำอีกครั้ง 39 ราย ณ ปัจจุบันยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไว้รัสตัวนี้

ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ให้ข้อสังเกตุว่าสถานการณ์ของโรคในประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นแพร่ระบาด แต่ก็ ไม่ควรประมาทเป็นอย่างยิ่ง ประเด็นที่อาจจะต้องกังวลอยู่บ้างก็คือ อาจมีผู้ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ที่ยังไม่มีอาการบ่งบอก แต่ผ่านการคัดกรองโดย Thermoscan หากมีคนกลุ่มนี้หลงเหลืออยู่จริง ก็จะเป็นอันตรายต่อการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น อุปมาดั่งภูเขาน้ำแข็งใต้ทะเลที่นักเดินเรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ฉะนั้นการเรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ไวรัสตัวนี้จึงเป็นการรักษาความปลอดภัยให้แก่ตนเองได้ดีที่สุด

ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล แนะนำว่าประชาชนทุกคนควรให้ความสนใจกับความรู้เบื้องต้นและคำแนะนำ ของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตัวนี้ รวมทั้งขอให้มั่นใจในข้อมูลข่าวสารภาครัฐ ที่อาจไม่รวดเร็วทันใจเหมือนข่าวสาร Digital แต่ข่าวสารในภาครัฐซึ่งจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องเสียก่อน ที่จะเผยแพร่ไปให้ประชาชนได้รับทราบนั้น จะป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำและนำไปอ้างอิงได้

ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล เชื่อว่าแพทย์และพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีศักยภาพเพียงพอที่จะ รองรับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Novel Coronavirus ( 2019 – nCoV ) ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีคุณภาพค่อนข้างสูงมาก โดยทัศนะส่วนตัวตนอยากให้ ประชาชนพึงสังวรถึงอันตรายของไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ( Influenza ) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณปีละ 4 แสนคน ในทุก ๆ ปีด้วย

ในประเด็นที่เกี่ยวกับการวางยุทธศาสตร์การป้องกันและรักษาโรคปอดติดเชื้อไวรัสตัวนี้ ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ดังนี้ :

1. รัฐบาลไทยควรให้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศ อื่น ๆ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของ Novel Coronavirus ( 2019 – nCoV ) ภายใต้ผลประโยชน์ของชาติไทย การกำหนดมาตรการควบคุมโรคควรมี 2 ระดับ คือ ระดับมาตรการทั่วไปในภาวะฉุกเฉินของ WHO และ ระดับ มาตรการเข้มข้นเด็ดขาดในภาวะวิกฤติ

2. จัดตั้งวอร์รูมสะกัดไวรัสตัวนี้ในระดับนานาชาติ โดยร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและยุทธศาสตร์การ ป้องกันโรคฯ ในลักษณะเดียวกับที่ตนเคยทำไว้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2548 ร่วมกับ Dr. Lee Jong Wook ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก และ Mr. Michael O. Leavitte รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการประชุมระดับ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ รวม 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ บรูไน ภูฐาน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งในครั้งนั้นมีพื้นที่ครอบคลุม ภูมิภาค Asia Pacific แต่ในครั้งนี้อาจกระชับลงมาเป็นภูมิภาค Southeast Asia ก็ได้

3. ประชาสัมพันธ์ความรู้เบื้องต้นและข้อปฏิบัติในการป้องกันเชื้อไวรัสฯ ผ่านสื่อต่าง ๆ และเว็ปไซด์ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคฯ เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปไม่ตื่น ตระหนก และได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง

4. พัฒนาประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อไวรัสฯ ของโรงพยาบาลระดับจังหวัดทุกแห่งให้มี ขีดความสามารถรายงานผลการตรวจชันสูตรได้ถูกต้องแม่นยำภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับสิ่งส่งตรวจฯ ตามแนวทางที่ตนได้เคยนำร่องการพัฒนาศักยภาพของศูนย์วิทยาศาสคร์การแพทย์ในภูมิภาคต่าง ๆ รวม 6 แห่ง ( เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา ) เมื่อปี พ.ศ. 2548 5. กรณีผู้ติดเชื้อ หรือผู้ป่วยมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่ชนบทที่ห่างไกลในระดับอำเภอ – ตำบล – หมู่บ้าน ให้รีบส่งตัวไปอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของโรงพยาบาลศูนย์ฯ หรือโรงพยาบาลทั่วไปในระดับจังหวัด รวมทั้ง จัดเตรียมยาต้านไวรัสให้เพียงพอที่จะแจกจ่ายไปให้โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอ และโรงพยาบาลทั่วไป ในระดับจังหวัดทุกแห่งที่มีอุบัติการของโรค