You are currently viewing ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหืด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหืด

โรคหืด เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะผิดปกติของหลอดลม โดยกล้ามเนื้อเรียบ ของอวัยวะส่วนนี้ จะมีปฏิกิริยาหดเกร็งตัว เมื่อสัมผัสกับสารระคายเคือง หรือสิ่งเร้าบางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ – หายใจลำบาก – แน่นหน้าอก – หอบเหนื่อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ในลักษณะเรื้อรัง และจะทุเลาลงได้ด้วยการใช้ยาขยายหลอดลม

การประเมินความรุนแรง ของโรค

 ผู้ป่วยหืด สามารถประเมินความรุนแรงของโรคด้วยตนเองได้ โดยการดูลักษณะอาการทางคลีนิก และการทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า PEAK FLOWMETER 
ตารางด้านล่างจะแสดงรายละเอียดให้ทราบ

เมื่อท่านรู้จักวิธีการประเมินความรุนแรงของโรค ท่านสามารถจะจัดการดูแลรักษาด้วยตนเองตาม แผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการ / แนวางการรักษา

นับเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยหอบหืดควรจะบันทึกความผิดปกติของอาการ รายละเอียดการใช้ยา และการทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย (Peak Flow) ด้วยตนเอง 
ท่านอาจจะใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรในการเรียนรู้ที่จะใช้ยารักษาโรคหอบหืด เช่น

 ก. ไฟเขียว หมายถึง ให้เลือกใช้ยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลม (Steroid พ่น)
ข. ไฟเหลือง หมายถึง ใช้ยาขยายหลอดลม ควบคู่กับยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลม
ค. ไฟแดง หมายถึง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหอบหืด 1. ไฟเขียว คือ ผู้ป่วยที่มี PEF 80 – 100% ของปกติ
หายใจดี ไม่ไอ ไม่หายใจดัง , Wheeze , ไม่แน่นอกเวลาทำงานหรือออกคำสั่ง
แนวทางการรักษา
1.1 ใช้ยาขยายหลอดลมเป็นครั้งคราวเวลามีอาการ
1.2 ใช้ยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลมสม่ำเสมอ

2. ไฟเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มี PEF 50 – 80% ของปกติ
ผู้ป่วยจะไอ, หายใจดัง , แน่นอก
ต้องใช้ยาพ่นขยายหลอดลม บ่อยขึ้น
ตื่นเช้าหอบบ่อยขึ้น ตื่นมากลางดึกหอบบ่อยขึ้น
แนวทางการรักษา
2.1 พ่นยาขยายหลอดลม เพิ่มและถี่ขึ้น เช่น ทุกๆ 3 – 4 ชม.
2.2 พ่นยาระงับอักเสบหลอดลมเพิ่มขึ้น
2.3 พิจารณาการใช้ STEROID โดยปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

3. ไฟแดง คือ ผู้ป่วยที่มี PEF น้อยกว่า 50% ของปกติ
แนวทางการรักษา
3.1 พ่นยาขยายหลอดลมเพิ่มและถี่ขึ้น เช่น ทุกๆ 2 – 3 ชม.
3.2 กินยา STEROID 30 -45 มิลลิกรัม/วัน
3.3 รีบเข้ารับคำปรึกษาการรักษาจากแพทย์