You are currently viewing โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร

           โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การสูบบุหรี่ โดยโรคนี้ประกอบไปด้วยโรค 2 ชนิดย่อย 
คือ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง  โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการไอและมีเสมหะเรื้อรังเป็นๆหายๆ
” อย่างน้อยปีละ 3 เดือนและเป็นอย่างน้อย 2 ปีติดต่อกัน  ส่วนโรคถุงลมโป่งพองนั้นเกิดจากถุงลมโป่งพองตัวออกทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติไป  
โดยทั่วไปเรามักพบ 2 โรคนี้เกิดร่วมกันและแยกออกจากกันได้ยาก

อาการเป็นอย่างไร

           ในช่วงที่เป็นระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ แต่ถ้าปอดถูกทำลายมากขึ้นจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง  หอบเหนื่อย  หายใจมีเสียงวี๊ดๆ

ถ้าไปพบแพทย์ แล้วแพทย์จะวินิจฉัยได้อย่างไร

           โดยทั่วไป แพทย์จะซักประวัติการสูบบุหรี่ อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นจึงตรวจเอ็กซเรย์ปอดและในบางรายอาจทำการตรวจสมรรถภาพปอดเพิ่มเติมครับ

ถ้าทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้แล้ว  ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

อย่างแรกสุดคือ ควรหยุดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้อาการเป็นมากขึ้น
ควรฝึกหายใจบ่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจแข็งแรง ต้องทำเป็นประจำจึงจะได้ผล  ทำตอนว่างๆ ตอนไหนก็ได้ วิธีการฝึกมีดังนี้
– ให้หายใจเข้าทางจมูก ปล่อยหน้าท้องให้ป่อง
– ห่อปาก แล้วหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ พร้อมกับแขม่วท้อง
– ให้หายใจออกยาวกว่าหายใจเข้า
ออกกำลังกายเป็นประจำ  แต่ควรปรึกษาแพทย์ด้วยนะครับว่าสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใดระวังการติดหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ โดยไม่คลุกคลีกับคนที่เป็นหวัดอยู่  ไม่ไปในที่ที่มีคนแออัด ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอไม่ให้ท้องผูก เนื่องจากการเบ่งอุจจาระมากๆ  อาจทำให้หอบเหนื่อยได้หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง  ควันต่างๆ และหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นดื่มน้ำมากๆ  ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด หรือไอสกรีมเย็นๆพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆไปพบแพทย์สม่ำเสมอ  ไม่ขาดยา  โดยเฉพาะยาพ่นแก้หอบ ควรพกติดตัวตลอดเวลาและตรวจเช็คว่ายังมีปริมาณเพียงพอก่อนจะถึงนัดการตรวจครั้งต่อไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี             โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease : COPD) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยมากอย่างหนึ่ง ในประเทศไทยพบถึงร้อยละ2.7-10.1 และล่าสุดมีการสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนย่านฝั่งธนบุรีพบผู้ป่วโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณร้อยละ7.1 จัดเป็นโรคที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่5และคาดว่าจะเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อยเป็นลำดับที่3ต่อไปในภายหน้า (รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ, 2544:88) เนื่องจากประชากรไทยมีอายุยืนขึ้น สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้น รวมถึงมีผู้สูบบุหรี่มากขึ้น บางคนสูบตั้งแต่อายุยังน้อยดังนั้นระยะเวลาในการสูบจะมากขึ้นทำให้ปอดถูกทำลาย การยืดหยุ่นของปอดลดลง มีการอักเสบของทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ทำให้ขาดกำลังใจในการต่อสู้และดูแลรักษาโรคของตนเอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายอย่าง ดังนั้นหากทีมสุขภาพสามารถรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคและส่งเสริมให้ทุกคนเฝ้าระวังป้องกันสุขภาพของตนเองและ บุคคลในครอบครัวได้ย่อมสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคและมีประโยชน์ต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมทั่วไป โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยและผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยต้องยอมรับก็คือความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น การพยายามผ่อนหนักให้เป็นเบาเมื่ออาการดีขึ้นต้องดูแลตนเองต่อที่บ้าน พยาบาลซึ่งใกล้ชิดผู้ป่วยจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแล และประคับประคองผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อช่วยให้อยู่อย่างมีความสุขในขณะที่อยู่ในโรงพยาบาล รวมทั้งการให้คำแนะนำในการดูแลตนเองที่บ้านแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น